สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Afternoon Report 22 กันยายน 2563
แนะแนวทางการลงทุน

      ทองคำยังไม่สามารถดีดตัวขึ้นได้มากนัก แรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์  ดอลลาร์ที่แข็งค่าจะลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น  การดีดตัวอาจทำได้จำกัดหลังจากดีดตัวไม่ผ่านแนวต้าน  นักลงทุนสามารถเปิดเก็งกำไรทิศทางขาลงได้  

 Date 22 Sep 2020
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย 1,926
 Target 1,926
Stoploss 1,940
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,893 1,926
 L2 1,888 1,931
 L3 1,883 1,936
สรุปแนวโน้มช่วงบ่าย

      ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า  ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับการใช้มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ในหลายประเทศของยุโรป ตั้งแต่เดนมาร์กไปจนถึงกรีซ เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ อาจประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศเป็นครั้งที่ 2 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ในอังกฤษเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุก 7 วัน  นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างสภาคองเกรสและทำเนียบขาวเกี่ยวกับการออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจครั้งใหม่ยังไม่มีความคืบหน้า  
       มุมมองทองคำภาคบ่าย  ราคาทองคำอ่อนตัวลงโดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ นอกจากนี้ ราคาทองยังดิ่งลงจากการที่นักลงทุนขายทำกำไร หลังจากราคาพุ่งขึ้นเกือบ 30% นับตั้งแต่ต้นปีนี้   ย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ระบุว่า หากสหรัฐชะลอการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 3 พ.ย. ก็จะส่งผลให้นักลงทุนพากันเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย และหนุนให้ราคาทองพุ่งทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่
      นักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ซึ่งได้แก่   ยอดขายบ้านมือสอง  ดัชนีภาคการผลิต สาขาริชมอนด์  ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต   ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ   จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ยอดขายบ้านใหม่  ดัชนีภาคการผลิตสาขาแคนซัส  คำสั่งซื้อสินค้าคงทน เป็นต้น                    


          

                   

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (18 ก.ย.) โดยดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันแล้ว และเยนแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อเยนในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในยุโรป และสหรัฐยังไม่มีความคืบหน้าในการเจรจามาตรการกระตุ้นด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคระบาดดังกล่าว    
         

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: สำนักงบประมาณสหรัฐคาดหนี้สินรัฐบาลจ่อพุ่ง 2 เท่าของจีดีพีในปี 2593

      สำนักงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) ออกรายงานคาดการณ์ว่า หนี้สินของรัฐบาลกลางสหรัฐจะพุ่งขึ้นเกือบสองเท่าของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2593 เนื่องจากรัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  "แม้ว่าหลังจากที่ผลกระทบของโรคโควิด-19 ใน 2563 ผ่อนคลายลงแล้ว แต่ยอดขาดดุลงบประมาณในช่วงหลายปีข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากสถิติในประวัติศาสตร์ โดยคาดว่ายอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 13% ของ GDP ในปี 2593 จากระดับ 5% ของ GDP ในปี 2573" รายงานของ CBO ระบุ  ทั้งนี้ จากยอดขาดดุลงบประมาณที่มีการคาดการณ์ดังกล่าวนั้น จะส่งผลให้รัฐบาลกลางสหรัฐมีอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP พุ่งขึ้นแตะระดับ 195% ในปี 2593 จากระดับ 98% ในปี 2563  
       สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกรายงานเตือนเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่า หนี้สินของรัฐบาลสหรัฐอยู่ในสถานะที่ไม่ยั่งยืน และจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อที่จะลดการขาดดุลด้านการคลัง และทำให้ตัวเลขหนี้สินปรับตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะกลางนี้
 

อินเดีย: อินเดียลุ้นผลทดสอบวัคซีนต้านโควิดปลายปีนี้ คาดใช้ได้เร็วสุดช่วงครึ่งปีหน้า

      ศาสตราจารย์ กากันดีป คัง ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาแห่งวิทยาลัยการแพทย์ Christian Medical College ของอินเดีย และหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยวัคซีนของ WHO เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า อินเดียอาจได้ใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ภายในต้นปี 2564  ศาสตราจารย์กากันดีปกล่าวว่า ภายในสิ้นปีนี้ เราจะมีข้อมูลที่บอกได้ว่า วัคซีนใดจะใช้ได้ผลและไม่ได้ผลบ้าง หากผลการทดสอบวัคซีนเป็นที่น่าพอใจภายในช่วงปลายปีนี้ เราก็จะพิจารณาเลือกวัคซีนจำนวนหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะนำมาใช้ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 และคาดว่าจะมีวัคซีนใช้ได้มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง  
     อย่างไรก็ดี การนำวัคซีนออกมาใช้ได้อย่างปลอดภัยกับประชาชนกว่า 1.3 พันล้านคนนั้น ถือเป็นความท้าทายใหญ่ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ซึ่งศาสตราจารย์กากันดีปกล่าวว่า วัคซีนชนิดใดก็ตามที่อยู่ในช่วงการทดลองระยะที่ 3 ไม่ว่าจะวิจัยในประเทศหรือทดสอบโดยบริษัทยาฝั่งตะวันตก ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จเพียง 50%       
 

จีน: นักวิเคราะห์เชื่อเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ได้แข็งแกร่ง

      นายจิม โอนีล อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างแข็งแกร่ง เมื่อประเมินจากข้อมูลยอดค้าปลีกจีนที่ดีดตัวขึ้น 0.5% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกของปีนี้ด้วย 
      นอกจากนี้ นายโอนีลยังมองว่า เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวจนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกด้วย  ก่อนหน้านี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานระบุว่า จีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวสวนทางภูมิภาค โดยคาดว่า GDP จีนจะขยายตัว 1.8% ในปีนี้ และ 7.7% ในปีหน้า โดยได้แรงหนุนจากการดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขที่ประสบความสำเร็จ
      สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนนั้น ไตรมาส 2/2563 ขยายตัว 3.2% ซึ่งฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่หดตัวลง 6.8% ในไตรมาส 1 และดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 2.5%  ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของจีนที่ออกมาดีเกินคาดนั้น ได้รับปัจจัยหนุนจากการที่รัฐบาลจีนยุติการใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำหนดนโยบายของจีนได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบของวิกฤตโควิด-19
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
21 ก.ย. 63 USA 19.30 ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เฟด ชิคาโก 1.88 1.18
22 ก.ย. 63 EUR 21.00 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ยูโรโซน -14.7 -14.7
USA 21.00 ยอดขายบ้านมือสอง 5.965 M 5.860 M
USA 21.00 ดัชนีภาคการผลิต สาขาริชมอนด์ 12 18
23 ก.ย. 63 EUR 13.00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนี จากสถาบัน Gfk -1.0 -1.8
EUR 14.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 52.6 53.0
EUR 14.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบิการ เยอรมันนี 53.0 50.8
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน - 51.7
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบิการ ยูโรโซน - 50.1
USA 20.00 ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย 0.6% 0.9 %
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 53.2 53.6
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบิการ 54.7 54.8
24 ก.ย. 63 EUR 15.00 ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเยอรมนี 93.8 92.6
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 880 K 860 K
USA 22.00 ดัชนีภาคการผลิตสาขาแคนซัส 13 14
25 ก.ย. 63 USA 19.30 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน 11.2 % 1.5 %
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line