สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Afternoon Report 06 เมษายน 2564
แนะแนวทางการลงทุน

    ทองคำขยับตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านแต่ยังไม่สามารถทะลุกรอบขึ้นไปได้  และโดนเทขายทำกำไรออกมา มองว่าราคาจะเกิดการพักตัว   เพื่อสร้างฐานราคาครั้งใหม่นักลงทุนอาจพิจารณา  ปิดสถานะทำกำไรที่กรอบแนวต้าน  หรือสลับหน้ามาเก็งกำไรทิศทางขาลงได้
           
                                                                                                          

 Date 06 เมษายน 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย 1,741
 Target 1,712
Stoploss 1,755
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,712 1,741
 L2 1,707 1,747
 L3 1,702 1,752
สรุปแนวโน้มช่วงบ่าย

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น และได้ขายดอลลาร์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา
     มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวลง นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำด้วย  
นักลงทุนยังคงจับตารายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำเดือนมี.ค. ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันพุธนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุมเมื่อวันที่ 16-17 มี.ค.ที่ผ่านมา และส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566
     นอกจากนี้นักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่  ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JOLTs  ดัชนีภาพรวมทางเศรษฐกิจ  ดุลการค้า  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  Fed Chair Powell Speaks  ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน  ดัชนีราคาผู้ผลิต  สินค้าคลคลังภาคค้าส่ง  เป็นต้น 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

      ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น และได้ขายดอลลาร์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: "เยลเลน" เผยสหรัฐจับมือ G20 กำหนดภาษีขั้นต่ำสำหรับภาคธุรกิจทั่วโลก

     นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า ตนกำลังดำเนินการร่วมกับกลุ่มประเทศ G20 เพื่อบรรลุข้อตกลงในการกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำสำหรับภาคธุรกิจในระดับโลก  คำกล่าวของนางเยลเลนมีขึ้น หลังจากที่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกพยายามแข่งขันกันกำหนดอัตราภาษีสำหรับภาคธุรกิจในระดับต่ำที่สุดเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ  นางเยลเลนกล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต่างๆจะต้องมีระบบภาษีที่มีเสถียรภาพเพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอให้แก่รัฐบาลในการใช้จ่ายในภาคสาธารณะ และการรับมือกับวิกฤตการณ์ ขณะที่ประชาชนก็ต้องแบกรับความรับผิดชอบในสัดส่วนที่เหมาะสมในการสนับสนุนด้านการเงินแก่ทางรัฐบาล
       นอกจากนี้ นางเยลเลนยังระบุว่า ในการเข้าร่วมการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกในสัปดาห์นี้ ตนจะผลักดันความคืบหน้าในการแก้ปัญหาโลกร้อน และการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของประเทศต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก
 

สหรัฐฯ: สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานลดลงมากกว่าคาดในเดือนก.พ.

     กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 0.8% ในเดือนก.พ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 0.5% หลังจากพุ่งขึ้น 2.7% ในเดือนม.ค.  คำสั่งซื้อภาคโรงงานได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในสหรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค และการผลิตในโรงงาน  เมื่อเทียบรายปี ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนก.พ.  ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ที่ไม่รวมหมวดอาวุธและเครื่องบิน ลดลง 0.9% ในเดือนก.พ. โดยยอดสั่งซื้อดังกล่าวถือเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่น และแผนการใช้จ่ายในภาคธุรกิจ

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐพุ่งสูงสุดรอบกว่า 6 ปีในเดือนมี.ค.

      ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 60.4 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2557 จากระดับ 59.8 ในเดือนก.พ.   ดัชนี PMI ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคบริการของสหรัฐมีการขยายตัว  ดัชนี PMI ได้รับปัจจัยหนุนจากการดีดตัวขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ และความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ ขณะที่การจ้างงานมีการขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน

สหรัฐฯ: ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐพุ่งเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค.

     สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 63.7 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากระดับ 55.3 ในเดือนก.พ. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 59.0    ดัชนีภาคบริการของสหรัฐได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ท่ามกลางความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในสหรัฐ และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นในเดือนมี.ค.  ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ  
      ทั้งนี้ ดัชนีภาคบริการของ ISM ประกอบด้วยอุตสาหกรรม 17 กลุ่ม ซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง การก่อสร้าง และเหมืองแร่
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
05 เม.ย 64 USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ 60.3 60.0
USA 21.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM 58.3 55.3
USA 21.00 คำสั่งซิ้อสินค้าโรงงาน -0.5% 2.6%
06 เม.ย 64 EUR 15.30 ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนจาก Sentix 6.8 5.0
EUR 16.00 อัตราการว่างงาน 8.1% 8.1%
USA 21.00 ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JOLTs 6.94M 6.94M
USA 21.00 ดัชนีภาพรวมทางเศรษฐกิจ 56.2 55.4
07 เม.ย 64 EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ เยอรมันนี 50.8% 50.8%
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ ยูโรโซน 48.8 48.8
USA 19.30 ดุลการค้า -70.2B -68.2B
08 เม.ย 64 EUR 13.00 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน เยอรมันนี 1.3% 1.4%
EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.6% 1.4%
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 690K 719K
USA 23.00 Fed Chair Powell Speaks - -
09 เม.ย 64 EUR 13.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เยอรมันนี 1.6% -2.5%
EUR 13.00 ดุลการค้า เยอรมันนี 23.4B 22.2B
USA 19.30 ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน 0.2% 0.2%
USA 19.30 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.5% 0.5%
USA 21.00 สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง 0.5% 0.5%
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line