สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Afternoon Report 28 เมษายน 2564
แนะแนวทางการลงทุน

       ทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ นักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ  นอกจากนี้นักลงทุนลดการถือครองทองคำ  เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดจากผลการประชุมที่จะมีขึ้นด้วย   

           
                                                                                                          

 Date 28 เมษายน 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ 1,763
 Target 1,781
Stoploss 1,750
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,763 1,781
 L2 1,758 1,786
 L3 1,753 1,791
สรุปแนวโน้มช่วงบ่าย

      ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 เม.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงมติการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย    
      มุมมองภาคบ่าย  ราคาทองคำยังแกว่งตัวอยู่ในกรอบ  เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ 
      ขณะเดียวกันนักลงทุนยังต้องติดตามนโยบายการเงินจากคณะกรรมการเฟดจะประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 27-28 เม.ย.นี้ ตลาดคาดการณ์คาดการณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ระดับใกล้ 0% และเดินหน้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือนต่อไป
     อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่ สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง  GDP  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย  ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล  ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐาน  ดัชนีจัดซื้อจัดจ้างชิคาโก  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน เป็นต้น       
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

      ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 เม.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงมติการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย  

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่น: ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 5.2% รับดีมานด์ฟื้นตัว

     กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น 5.2% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขยายตัว 4.7% โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้นหลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว  ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.นั้นขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่ปรับตัวขึ้น 6.4% เมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว และยังเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน  เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.2% หลังปรับตามฤดูกาล  ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นได้ปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายสินค้ากลุ่มแฟชั่นที่เพิ่มขึ้น เช่น เสื้อผ้าและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าทั่วไป  เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกลับมากระเตื้องขึ้นจากการที่ภาคส่งออกฟื้นตัวขึ้นหลังทรุดตัวลงเมื่อปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าโครงการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นจะมีความล่าช้า และการระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนก็ตาม  
บรรดานักวิเคราะห์ยังคงกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการใช้จ่ายในภาคบริการ อาทิ ร้านอาหารและกิจกรรมสันทนาการ หลังรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินรอบที่ 3 เพื่อสกัดโรคโควิด-19 ในกรุงโตเกียว รวมถึงจังหวัดโอซาก้า, เกียวโต และเฮียวโงะเมื่อสัปดาห์ก่อน
 

บราซิล: บราซิลห้ามนำเข้าวัคซีนสปุตนิกไฟว์ของรัสเซีย หลังพบความเสี่ยง-ความบกพร่องร้ายแรง

     คณะกรรมการ Anvisa ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านสาธารณสุขของบราซิล ได้สั่งห้ามนำเข้าวัคซีนสปุตนิกไฟว์ (Sputnik V) ซึ่งเป็นวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่ผลิตโดยรัสเซีย หลังจากเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของคณะกรรมการ Anvisa ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงโดยทั่วไป และความบกพร่องที่ร้ายแรงของวัคซีน เมื่อพิจาณาจากข้อมูลด้านการรับรองความปลอดภัย, คุณภาพ และประสิทธิภาพของวัคซีน  อานา แคโรลินา โมเรียรา มาริอาโน อารัวโจ ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจการด้านสาธารณสุขของ Anvisa กล่าวว่า หลังจากที่ได้พิจารณาเอกสารทั้งหมด, ข้อมูลที่รวบรวมได้ในระหว่างการตรวจสอบรายบุคคล และข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ นั้นพบว่า วัคซีนสปุตนิกไฟว์มีความเสี่ยงโดยทั่วไป และถือเป็นเรื่องใหญ่มาก   ขณะที่นายกัสตาโว เมนเดส ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ด้านชีวภาพและเภสัชภัณฑ์ของ Anvisa ระบุว่า ประเด็นที่สำคัญก็คือ อะดีโนไวรัส (Adenovirus) ที่ปรากฎจำนวนเพิ่มขึ้นในวัคซีนนั้น ซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรงมาก โดยอะดีโนไวรัสนั้นเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย เช่นเป็นหวัด ตาแดง เส้นเสียงอักเสบ หลอดลมส่วนปลายอักเสบ และปอดบวม  อะดีโนไวรัสถูกใช้เป็นไวรัสตัวนำสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ ซึ่งอะดีโนไวรัสที่เป็นเพียงไวรัสตัวนำนั้นไม่ควรจะเพิ่มจำนวนได้อีกเนื่องจากถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมแล้ว ดังนั้นการเพิ่มจำนวนของอะดีโนไวรัสในวัคซีนสปุตนิกไฟว์จึงถือเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง  
      ทั้งนี้ แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกจะให้การรับรองวัคซีนสปุตนิกไฟว์ และนักวิทยาศาสตร์รัสเซียก็อ้างว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสโควิด-19 ได้ถึง 97.6% แต่หน่วยงานสาธารณสุขของบราซิล และสหภาพยุโรปยังไม่ให้การอนุมัติ เนื่องจากจำเป็นต้องมีข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมทั้งในด้านผลการทดลองและกระบวนการผลิต  การสั่งห้ามนำเข้าวัคซีนสปุตนิกไฟว์มีขึ้น แม้ผู้ว่าการรัฐต่างๆ ในบราซิลได้ยื่นคำร้องให้ Anvisa ออกใบรับรองการนำเข้าวัคซีนดังกล่าว เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดรอบสองของโรคโควิด-19  ที่ผ่านมานั้น โครงการฉีดวัคซีนของบราซิลเป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งส่งผลให้บราซิลกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากที่สุดในปีนี้ อีกทั้งยังทำให้ระบบสาธารณสุขของบราซิลใกล้เข้าสู่ภาวะล้มเหลว
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
26 เม.ย 64 EUR 15.00 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เยอรมันนี 97.7 96.6
USA 19.30 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน 2.0 % -1.1 %
USA 21.30 ดัชนีภาคการผลิต เฟดสาขาฟิลาเดเฟีย 27.5 28.9
27 เม.ย 64 USA 20.00 ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในเขค 20 เมืองใหญ่ 1.1 % 1.2 %
USA 20.00 ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย 0.9 % 1.0 %
USA 21.00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 112.0 109.7
USA 21.00 ดัชนีภาคการผลิตของสาขาริชมอนด์ 20 17
28 เม.ย 64 EUR 14.30 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เยอรมนี -3.8 -6.2
USA 19.30 สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง 0.6 % 0.5 %
29 เม.ย 64 EUR 14.55 อัตราการว่างงาน เยอรมันนี 6.0 % 6.0 %
EUR 16.00 ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ยูโรโซน 103.0 101.0
EUR 17.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค เยอรมันนี 0.5 % 0.5 %
USA 19.30 GDP 6.5 % 4.3 %
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 558 K 547 K
USA 21.00 ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย 3.8 % -10.6 %
30 เม.ย 64 EUR 15.00 ประมาณการ GDP เยอรมันนี -1.5 % 0.1 %
EUR 16.00 ประมาณการ GDP ยูโรโซน -0.9 % -0.6 %
EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.6 % 1.3 %
EUR 16.00 อัตราการว่างงาน ยูโรโซน 8.3 % 8.3 %
USA 19.30 ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน 0.7 % 0.7 %
USA 19.30 รายได้ส่วนบุคคล 20.3 % -7.1 %
USA 19.30 รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 4.0 % -1.0 %
USA 19.30 ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล 0.4 % 0.2 %
USA 19.30 ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐาน 0.3 % 0.1 %
USA 20.45 ดัชนีจัดซื้อจัดจ้างชิคาโก 64.0 66.3
USA 21.00 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน 87.1 86.5
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line