สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 05 พฤษภาคม 2564
แนะแนวทางการลงทุน

         ราคาทองคำปรับตัวลงอีกครั้ง  โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ   หนุนปรับเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ก็เป็นตัวฉุดทองคำดิ่งลงด้วย  แนะรอซื้อแนวรับ

 Date 05 พฤษภาคม 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ 1,7ุ63
 Target 1,792
Stoploss 1,750
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,763 1,792
 L2 1,758 1,796
 L3 1,753 1,802
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

      ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวแสดงความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจำเป็นต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป  อันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ
      มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวแสดงความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจำเป็นต้องปรับเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป
      อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่  การจ้างงานนอกภาคเกษตร ADP  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ผลผลิตนอกถาคการเกษตร  ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย  การจ้างงานนอกภาคการเกษตร  อัตราการว่างงาน  รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน  สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง เป็นต้น        
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 พ.ค.) หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวแสดงความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจำเป็นต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป  

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: ขุนคลังสหรัฐยอมรับอัตราดอกเบี้ยอาจต้องปรับตัวขึ้น หวังลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ

      นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เปิดเผยในงานสัมมนาของนิตยสารดิแอตแลนติกว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจำเป็นต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป อันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ
      นางเยลเลน กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยอาจต้องปรับตัวขึ้นในระดับหนึ่ง "เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐไม่ร้อนแรงเกินไป" แม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้มีวงเงินมากนักเมื่อเทียบกับมูลค่าเศรษฐกิจทั้งประเทศ  รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า แม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐร้อนแรงเกินไป แต่สหรัฐจำเป็นต้องมีมาตรการเหล่านี้เพื่อให้แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
       ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดในเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว สภาคองเกรสได้จัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วประมาณ 5.3 ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยังได้พยายามผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินรวม 4 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อเยียวยาชาวสหรัฐที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่เพิ่มการจ้างงานและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วย
 

สหรัฐฯ: สหรัฐขาดดุลการค้ามากเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค. เหตุดีมานด์หนุนนำเข้า

      กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันนี้ว่า สหรัฐขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น 5.6% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7.44 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการในสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นจนทำให้ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น  นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า สหรัฐอาจขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นอีก เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นมากกว่าประเทศอื่นๆ  เมื่อแยกตามหมวดแล้ว สหรัฐส่งออกเพิ่มขึ้น 6.6% แตะ 2 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้น 6.3% แตะ 2.745 แสนล้านดอลลาร์ 

สหรัฐฯ: สหรัฐเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนมี.ค.

     กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แตะ 5.129 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมี.ค. หลังจากที่ปรับตัวลดลง 0.5% ในเดือนก.พ.  
     อย่างไรก็ดี คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งคาดไว้ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3%  คำสั่งซื้อภาคโรงงานได้รับปัจจัยหนุนจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐ ประกอบกับความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19  เมื่อเทียบเป็นรายปีแล้ว คำสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.6%  ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนมี.ค. โดยยอดสั่งซื้อดังกล่าวถือเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่น และแผนการใช้จ่ายในภาคธุรกิจ
 

ออสเตรเลีย: แบงก์ชาติออสเตรเลียตรึงดอกเบี้ยที่ 0.1% เพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้โต 4.75%

     ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาดที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.1% ในวันนี้ โดยเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยใกล้ระดับ 0% ในการประชุมครั้งที่ 5 ติดต่อกัน และได้ยืนยันที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไปอีกนาน แม้ว่าเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการชะลอตัวที่เกิดจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ก็ตาม  RBA ระบุว่า จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ต่อไป เพื่อลดอัตราการว่างงาน และทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น  
     นอกจากนี้ RBA ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียในปีนี้เป็น 4.75% จากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนก.พ.ที่ 3.5%
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
03 พ.ค 64 EUR 13.00 ยอดค้าปลีก เยอรมันนี 3.0 % 1.2 %
EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 66.4 66.6
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 63.3 62.5
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 60.6 59.1
USA 21.00 ดัชนีภาคการผลิต ISM 65.0 64.7
USA 21.00 ค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้าง 2.0% -0.8%
04 พ.ค 64 USA 19.30 ดุลการค้า $-74.0 B $-71.1 B
USA 21.00 คำสั่งซื้อโรงงาน 1.3 % -0.8 %
05 พ.ค 64 EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เยอรมันนี 50.1 51.5
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ยูโรโซน 49.6 49.6
EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.6% 0.5 %
USA 19.15 การจ้างงานนอกภาคเกษตร ADP 763,000 517,000
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ 63.1 60.4
USA 21.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM 64.2 63.7
06 พ.ค 64 EUR 13.00 คำสั่งซื้อภาคการผลิต 1.8% 1.2%
EUR 16.00 ยอดค้าปลีก 1.4% 3.0%
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 533 K 553 K
USA 19.30 ผลผลิตนอกถาคการเกษตร 3.7 % -4.2 %
USA 19.30 ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย -0.6 % 6.0 %
07 พ.ค 64 EUR 13.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม 1.7 % -1.6 %
USA 19.30 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร 938,000 916,000
USA 19.30 อัตราการว่างงาน 5.8 % 6.0 %
USA 19.30 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน 0.1 % -0.1 %
USA 21.00 สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง 1.4 % 0.6 %
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line