สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Afternoon Report 15 กันยายน 2564
แนะแนวทางการลงทุน

  ราคาทองคำปิดตลาดปรับตัวขึ้น  โดยได้ปัจจัยหนุนหลังจากที่สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคต่ำกว่าคาดการณ์  ซึ่งจะทำให้ลดแนวโน้มที่ เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปรับลดวงเงินในโครงการ QE กระตุ้นให้เกิดแรงซื้อทองคำเข้ามาในตลาดอีกครั้ง     

 Date 15 กันยายน 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ 1,797
 Target 1,810
Stoploss 1,785
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,797 1,810
 L2 1,792 1,814
 L3 1,787 1,819
สรุปแนวโน้มช่วงบ่าย

         ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งจะลดแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
         มุมมองทองคำภาคบ่าย ราคาทองคำยังทรงตัวได้ระดับสูงหลังจากดีดตัวขึ้นเมื่อคืนวานนี้ หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้นเพียง 0.35% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ํากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่า “อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอาจผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว” ซึ่งนั่น “บั่นทอน” แนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะเร่งปรับลด วงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.2534% ต่ําสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคําทะยานขึ้นกว่า 26 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับต่ําสุดสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,808.63 ตอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่เปลี่ยนแปลง 
         นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ซึ่งได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตสาขานิวยอร์ก  ดัชนีราคาสินค้านำเข้า  ดัชนีราคาสินค้าส่งออก  ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ดัชนีภาคการผลิตจากเฟด  สาขาฟิลาเดลเฟีย  ยอดค้าปลีก  ดัชนีสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ  ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน เป็นต้น   
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

      ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ก.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อจับทิศทางอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)   

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
เกาหลีเหนือ: เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ลูกลงทะเลวันนี้ ญี่ปุ่นชี้เป็นภัยคุกคาม-ละเมิดมติ UN

      ทางการญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เปิดเผยในวันนี้ว่า เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธลงสู่ทะเลนอกชายฝั่งตะวันออกในวันนี้ โดยขีปนาวุธไม่ได้ตกลงสู่เขตแดนของญี่ปุ่น แต่เชื่อว่าตกลงในพื้นที่ด้านนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษของญี่ปุ่น   กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นแถลงว่า "เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา และการยิงขีปนาวุธล่าสุดในวันนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับญี่ปุ่นและประชาคมโลก"  ทางด้านนายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า การยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามต่อญี่ปุ่นและภูมิภาค อีกทั้งเป็นการละเมิดมติขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งห้ามไม่ให้เกาหลีเหนือทำการทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์ นอกจากนี้ นายซูงะจะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในช่วงเที่ยงวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น  การยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือในวันนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (13 ก.ย.) เกาหลีเหนือได้อ้างความสำเร็จในการทดสอบยิงขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล (long-range cruise missile) รุ่นใหม่ในช่วงสุดสัปดาห์ โดยขีปนาวุธรุ่นใหม่ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิทยาศาสตร์ด้านกลาโหมของเกาหลีเหนือนั้น สามารถทำลายเป้าหมายที่อยู่ไกลประมาณ 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์)
      สำนักข่าวกลางของเกาหลี (KCNA) ระบุว่า เกาหลีเหนือได้ทำการทดสอบยิงขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลรุ่นใหม่เมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยขีปนาวุธดังกล่าวได้รับการยืนยันในด้านประสิทธิภาพและความแม่นยำ พร้อมระบุว่า เกาหลีเหนือมีความคืบหน้าอย่างมากในการพัฒนาขีปนาวุธในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา  การทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกาหลีเหนือได้แสดงท่าทีไม่พอใจสหรัฐที่เดินหน้าซ้อมรบร่วมกับเกาหลีใต้ โดยเมื่อไม่นานมานี้ นายคิม ยงชอล เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีเหนือได้ออกมาเตือนว่า เกาหลีใต้และสหรัฐตอบแทนความหวังดีของเกาหลีเหนือด้วย "การกระทำอันเป็นปรปักษ์" และยังกล่าวด้วยว่าเกาหลีใต้เลือกที่จะละทิ้งโอกาสในการยกระดับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น
 

อังกฤษ: อังกฤษเผยเงินเฟ้อเดือนส.ค.พุ่ง 3.2% ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

     สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 3.2% เมื่อเทียบรายปี และเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการเริ่มจัดทำดัชนีดังกล่าวเมื่อปี 2540   นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี CPI ของอังกฤษเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2.9% ในเดือนส.ค. หลังจากที่ปรับตัวลงแตะระดับ 2% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายปี  ทั้งนี้ ONS คาดว่าการพุ่งขึ้นของดัชนี CPI นั้นเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว โดยระบุว่า สาเหตุที่ดัชนีปรับตัวขึ้นเช่นนี้อาจมากจากการใช้มาตรการ Eat Out to Help Out (EOHO) ของรัฐบาลอังกฤษเมื่อปีที่ผ่านมา  ดัชนี CPI ยังคงเพิ่มขึ้นสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางอังกฤษที่ระดับ 2% อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะยิ่งทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้ยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการประกาศใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นอย่างมากของดัชนี CPI ยังเกิดขึ้นท่ามกลางราคาพลังงานที่ปรับตัวขึ้น ขณะที่อังกฤษกลับมาเปิดเศรษฐกิจหลังจากใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดมาอย่างยาวนาน 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
06 ก.ย.64 EUR 13.00 ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เยอรมันนี -1.0% 4.1%
14 ก.ย.64 USA 17.00 ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดเล็ก NFIB 99.0 99.7
USA 19.30 ดัชนีราคาผู้บริโภค 0.4% 0.5%
USA 19.30 ดัชนีราคาผู้บริโภค ( ไม่รวมอาหารและพลังงาน) 0.3% 0.3%
15 ก.ย.64 EUR 16.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยูโรโซน 0.6 % -0.3 %
USA 19.30 ดัชนีภาคการผลิตสาขานิวยอร์ก 18.6 18.3
USA 19.30 ดัชนีราคาสินค้านำเข้า 9.281M 10.073M
USA 19.30 ดัชนีราคาสินค้าส่งออก 0.5 % 1.3 %
USA 20.15 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม 0.5 % 0.9 %
16 ก.ย.64 EUR 16.00 ดัชนีราคาสินค้านำเข้า - 0.0 %
EUR 16.00 ดัชนีราคาสินค้าส่งออก - -0.7 %
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 315 K 310 K
USA 19.30 ดัชนีภาคการผลิตจากเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย 19.2 19.4
USA 19.30 ยอดค้าปลีก -0.8 % -1.1 %
USA 21.00 ดัชนีสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ 0.5 % 0.8 %
17 ก.ย.64 EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้บริโภค 0.4% -0.1%
USA 21.00 ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน 72.0 70.3
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line