สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Afternoon Report 24 พฤศจิกายน 2564
แนะแนวทางการลงทุน

       ราคาทองคำร่วงลงอย่างหนัก หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯ ดีดตัวขึ้น  นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าหลังจากประธานาธิบ ดีโจ ไบเดนตัดสินใจเสนอชื่อนายเจอโรม พาวเวล ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อีกครั้ง  แนะรอขาย 
  

 Date 24 พฤศจิกายน 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย 1,8ุ14
 Target 1,774
Stoploss 1,830
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,774 1,814
 L2 1,765 1,819
 L3 1,757 1,825
สรุปแนวโน้มช่วงบ่าย

      ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนตัดสินใจเสนอชื่อนายเจอโรม พาวเวล ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นสมัยที่ 2  สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า การแพร่ระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 ในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนีเปิดเผยว่า รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินมาตรการจำกัดที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19          
      มุมมองทองคำภาคบ่าย  ราคาทองคําพยายามดีดตัวขึ้นแต่ไม่สามารถทำได้มากนัก ราคาปรับตัวลดลงหลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศว่า เขาได้เสนอชื่อนายเจอโรม พาวเวล ให้ดํารงตําแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟต)เป็น สมัยที่ 2  ทําให้ตลาดมองว่า แนวโน้มนโยบายการเงินภายใต้การนําของนายพาวเวลจะมีจุดยืนที่ผ่อนคลาย “น้อยกว่า” ภายใต้การนําของนางสาเอล เบรนาร์ดที่เป็นอีกหนึ่งตัวเก็งเข้าชิงเก้าอี้ประธานเฟด
      นอกจากนี้ นักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในรอบสัปดาห์ นี้ได้แก่  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ  คำสั่งซื้อสินค้าคงทน  GDP ประมาณการครั้งที่สอง  ดุลการค้า  ดัชนีสินค้านำเข้า  ดัชนีสินค้าส่งออก  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ดัชนีสินค้าคงลังภาคค้าส่ง  ยอดขายบ้านใหม่  รายได้ส่วนบุคคล  รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล  ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล  ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล  ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน เป็นต้น   
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

       ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 พ.ย.) หลังจากไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐชะลอตัวลง  

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: ซาอุดีอาระเบียส่งออกน้ำมันดิบเดือนก.ย.ทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือนส.ส.เดโมแครตจี้ไบเดนใช้คำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันดิบ เร่งสกัดราคาน้ำมันพุ่ง

      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากพรรคเดโมแครตได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) และบังคับใช้คำสั่งห้ามส่งออกน้ำมัน เพื่อสกัดราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้น  ทั้งนี้ สมาชิกพรรคเดโมแครตซึ่งมีนายโร คานนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นแกนนำ ได้ส่งจดหมายถึงปธน.ไบเดน ให้เร่งดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ครัวเรือนอเมริกันจะยังมีน้ำมันใช้ในราคาที่เหมาะสมและเพียงพอ    
      สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า จดหมายดังกล่าวเรียกร้องให้ปธน.ไบเดนใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อสกัดราคาน้ำมันเบนซินในระยะสั้น ขณะเดียวกันโฆษกประจำตัวของนายคานนาได้ยืนยันข้อเรียกร้องในจดหมายซึ่งมีสมาชิกพรรคเดโมแครตประมาณ 10 คน ร่วมกันลงนาม   แหล่งข่าววงในของรัฐบาลสหรัฐเผยว่า มีการคาดการณ์ว่า กระทรวงพลังงานจะประกาศระบายน้ำมันสำรองจากคลัง SPR ในวันอังคาร (23 พ.ย.) ร่วมกับอีกหลายประเทศ  ทางด้านปธน.ไบเดนมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐและการดำเนินงานของคณะทำงานในการสกัดราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นในวันอังคารตามเวลาสหรัฐเช่นกัน  
       ทั้งนี้ ตามกฎหมายสหรัฐนั้น ปธน.ไบเดนมีอำนาจในการประกาศภาวะฉุกเฉินและยับยั้งการส่งออกน้ำมันได้สูงสุดเป็นเวลาหนึ่งปี ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่า โอกาสที่ปธน.ไบเดนจะทำเช่นนั้นมีน้อยมาก  ซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า สหรัฐและชาติพันธมิตรอาจระบายน้ำมันรวม 100-120 ล้านบาร์เรลออกสู่ตลาด โดยสหรัฐจะระบายน้ำมัน 45-60 ล้านบาร์เรล, จีน 30 ล้านบาร์เรล, อินเดีย 5 ล้านบาร์เรล, ญี่ปุ่น 10 ล้านบาร์เรล และเกาหลีใต้ 10 ล้านบาร์เรล  ที่ผ่านมานั้น สหรัฐพยายามโน้มน้าวให้ประเทศต่าง ๆ ระบายน้ำมันจากคลังสำรอง หลังจากที่โอเปกพลัสปฏิเสธข้อเรียกร้องของสหรัฐที่ต้องการให้โอเปกพลัสเพิ่มการผลิตน้ำมันมากกว่า 400,000 บาร์เรล/วัน
 

สหรัฐฯ: สหรัฐประกาศเตือนปชช.หลีกเลี่ยงเดินทางไปเยอรมนี-เดนมาร์ก เหตุโควิดระบาดหนัก

       ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐได้ออกประกาศเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเยอรมนีและเดนมาร์ก เนื่องจากขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในทั้งสองประเทศพุ่งสูงขึ้น    CDC ยกระดับคำเตือนสำหรับการเดินทางไปยังเยอรมนีและเดนมาร์กเป็นระดับ 4 หรือความเสี่ยงสูงมาก พร้อมกับเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่กระทรวงต่างประเทศก็ออกประกาศเตือนให้งดการเดินทางเช่นกัน   ขณะนี้ CDC ได้ออกคำเตือนระดับ 4 สำหรับประเทศต่าง ๆ ราว 75 ประเทศ รวมถึงประเทศในทวีปยุโรปหลายแห่ง เช่น ออสเตรีย, อังกฤษ, เบลเยียม, กรีซ, นอร์เวย์, สวิตเซอร์แลนด์, โรมาเนีย, ไอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก  ทางด้านนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลแห่งเยอรมนีกล่าวกับผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมของเยอรมนีว่า ขณะนี้มาตรการควบคุมโควิด-19 ของเยอรมนีไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดกว่านี้   
       ทั้งนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อในเยอรมนียังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบทั้งสองโดสไปตั้งแต่ช่วงต้นปี และกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ฉีดวัคซีน
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
22 พ.ย.64 USA 20.30 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ เฟด ชิคาโก 0.90 -0.13
EUR 22.00 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน -5.5 -4.8
USA 22.00 - 7.0 %
23 พ.ย.64 EUR 15.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 56.7 57.8
EUR 15.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ เยอรมันนี 51.5 52.4
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 57.2 58.3
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ ยูโรโซน 53.6 54.6
USA 21.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 59.0 58.4
USA 21.15 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ 59.1 58.7
24 พ.ย.64 EUR 16.00 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมันนี สถาบัน Ifo 96.7 97.7
USA 20.30 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน 0.3% -0.4 %
USA 20.30 GDP ประมาณการครั้งที่สอง 2.1 % 2.0 %
USA 20.30 ดุลการค้า $-94.6 B $-96.3 B
USA 20.30 ดัชนีสินค้านำเข้า 0.9 % 0.5 %
USA 20.30 ดัชนีสินค้าส่งออก -4.6 % -4.7 %
USA 20.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 264 K 268 K
USA 20.30 ดัชนีสินค้าคงลังภาคค้าส่ง 0.8 % 1.1 %
USA 22.00 ยอดขายบ้านใหม่ 790 K 800 K
USA 22.00 รายได้ส่วนบุคคล 0.2 % -1.0 %
USA 22.00 รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 1.0 % 0.6%
USA 22.00 ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล 0.6 % 0.3 %
USA 22.00 ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล 0.4 % 0.2 %
USA 22.00 ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน 66.9 66.8
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line