สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 25 พฤศจิกายน 2564
แนะแนวทางการลงทุน

            ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากแรงช้อนซื้อหลังจากสัญญาทองร่วงลงอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ  ในเบื้องต้นยังมองแค่รีบาวน์ระยะสั้น ๆ  แนะปิดทำกำไร  

 Date 25 rพฤศจิกายน 221
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย 1,814
 Target 1,774
Stoploss 1,830
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,774 1,814
 L2 1,765 1,819
 L3 1,757 1,825
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) หลังจากที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้มีการเร่งปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งจะทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ 
     มุมมองทองคำภาคเช้า  ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ เนื่องจากแรงช้อนซื้อหลังจากสัญญาทองร่วงลงอย่างหนักติดต่อกัน 4 วันทำการ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ  
     อย่างไรก็ดี สัญญาทองคำปิดตลาดขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2564 ที่ขยายตัว 2.1% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งแรกที่ระดับ 2.0%    ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 71,000 ราย สู่ระดับ 199,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2512 ส่วนดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน พุ่งขึ้น 5.0% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2533  
     ตลาดทองคำนิวยอร์กจะปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ย. เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 พ.ย.) หลังจากที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้มีการเร่งปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งจะทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้   

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
บอนด์ยีลด์: บอนด์ยีลด์สหรัฐดีดตัว ขานรับ "พาวเวล" เป็นประธานเฟดสมัย 2

              นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐจำนวนมากในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 2-3 พ.ย.  ณ เวลา 22.53 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.648% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.998%  ราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน    นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐจำนวนมากในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 2-3 พ.ย. นักวิเคราะห์มองว่า การที่นายพาวเวลดำรงตำแหน่งประธานเฟดเป็นสมัยที่ 2 จะส่งผลให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า

สหรัฐฯ: "ไบเดน" ประกาศระบายน้ำมัน 50 ล้านบาร์เรลจากคลังสำรอง หวังสกัดราคาพุ่ง

      ประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศในวันนี้ว่า สหรัฐจะระบายน้ำมันดิบจำนวน 50 ล้านบาร์เรลออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในตลาด     
      ทั้งนี้ สหรัฐจะระบายน้ำมันดิบร่วมกับสหราชอาณาจักร จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ซึ่งถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกในการดำเนินมาตรการดังกล่าว กระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่า ขณะนี้ SPR มีน้ำมันดิบรวม 604.5 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบที่ถูกระบายออกมาจะเข้าสู่ตลาดภายในเวลา 13 วัน หลังจากที่ประธานาธิบดีมีคำสั่งดังกล่าว
 

อังกฤษ: อังกฤษประกาศระบายน้ำมัน 1.5 ล้านบาร์เรล ตามรอยสหรัฐ

      รัฐบาลอังกฤษแถลงในวันนี้ว่า อังกฤษจะระบายน้ำมันจำนวน 1.5 ล้านบาร์เรลออกสู่ตลาด ในความร่วมมือกับสหรัฐและชาติพันธมิตรเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในตลาด    อย่างไรก็ดี น้ำมันจำนวน 1.5 ล้านบาร์เรลดังกล่าวจะเป็นน้ำมันจากสต็อกของภาคเอกชน และการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นไปอย่างสมัครใจ และไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำมันในคลังสำรองของรัฐบาลแต่อย่างใด ขณะที่สำนักงานพลังงานสากล (IEA) กำหนดให้รัฐบาลจะต้องมีน้ำมันในคลังสำรองเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศเป็นเวลา 90 วัน
      ทางด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศในวันนี้ว่า สหรัฐจะระบายน้ำมันดิบจำนวน 50 ล้านบาร์เรลออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันในตลาด ขณะที่รัฐบาลอินเดียประกาศระบายน้ำมันดิบจำนวน 5 ล้านบาร์เรล  
      ทั้งนี้ สหรัฐจะระบายน้ำมันดิบร่วมกับอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ซึ่งถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกในการดำเนินมาตรการดังกล่าว  กระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่า ขณะนี้ SPR มีน้ำมันดิบรวม 604.5 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบที่ถูกระบายออกมาจะเข้าสู่ตลาดภายในเวลา 13 วัน หลังจากที่ประธานาธิบดีมีคำสั่งดังกล่าว   ซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า สหรัฐและชาติพันธมิตรอาจระบายน้ำมันรวม 100-120 ล้านบาร์เรลออกสู่ตลาด โดยสหรัฐจะระบายน้ำมัน 45-60 ล้านบาร์เรล, จีน 30 ล้านบาร์เรล, อินเดีย 5 ล้านบาร์เรล, ญี่ปุ่น 10 ล้านบาร์เรล และเกาหลีใต้ 10 ล้านบาร์เรล  อย่างไรก็ดี คาดว่ามาตรการระบายน้ำมันจากคลังสำรองจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดเพียง 2-3 สัปดาห์   
      ทั้งนี้ สหรัฐพยายามโน้มน้าวให้ประเทศต่างๆ ทำการระบายน้ำมันจากคลังสำรอง หลังจากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ปฏิเสธข้อเรียกร้องของสหรัฐที่ต้องการให้มีการเพิ่มการผลิตน้ำมันมากกว่า 400,000 บาร์เรล/วัน    
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
22 พ.ย.64 USA 20.30 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ เฟด ชิคาโก 0.90 -0.13
EUR 22.00 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน -5.5 -4.8
USA 22.00 ยอดขายบ้านมือสอง - 7.0 %
23 พ.ย.64 EUR 15.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 56.7 57.8
EUR 15.30 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ เยอรมันนี 51.5 52.4
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 57.2 58.3
EUR 16.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ ยูโรโซน 53.6 54.6
USA 21.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 59.0 58.4
USA 21.15 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ 59.1 58.7
24 พ.ย.64 EUR 16.00 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมันนี สถาบัน Ifo 96.7 97.7
USA 20.30 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน 0.3% -0.4 %
USA 20.30 GDP ประมาณการครั้งที่สอง 2.1 % 2.0 %
USA 20.30 ดุลการค้า $-94.6 B $-96.3 B
USA 20.30 ดัชนีสินค้านำเข้า 0.9 % 0.5 %
USA 20.30 ดัชนีสินค้าส่งออก -4.6 % -4.7 %
USA 20.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 264 K 268 K
USA 20.30 ดัชนีสินค้าคงลังภาคค้าส่ง 0.8 % 1.1 %
USA 22.00 ยอดขายบ้านใหม่ 790 K 800 K
USA 22.00 รายได้ส่วนบุคคล 0.2 % -1.0 %
USA 22.00 รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 1.0 % 0.6%
USA 22.00 ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล 0.6 % 0.3 %
USA 22.00 ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล 0.4 % 0.2 %
USA 22.00 ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกน 66.9 66.8
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line