สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

ตลาดจับตาการประชุมเฟดวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75%

ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ ขณะที่ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 77.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งนี้ และให้น้ำหนักเพียง 22.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00%

 

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนให้น้ำหนักถึง 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%

 

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด ซึ่งรวมถึงนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้ว่าองค์กรระดับโลกซึ่งได้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ออกรายงานเตือนว่า การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง

 

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียซึ่งรวมถึงจีนและอินเดีย ลงสู่ระดับ 4.6% ในปี 2565 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.2% โดยระบุว่า "ความเสี่ยงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียยังคงมาจากปัจจัยภายนอก ซึ่งรวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก, การที่เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง"

 

ขณะที่ IMF คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงสู่ระดับ 5.9% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 6.3% โดยระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นไปอย่างล่าช้า และยังคงกดดันให้บรรดาธนาคารกลางในเอเชียใช้มาตรการเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เม็ดเงินทุนจะไหลออกจากภูมิภาค

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ryt9


ข่าวเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
เฟดแคนซัสซิตี้ชี้ไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อป้องกันปัญหา
เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับจุดยืนนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาล่วงหน้า และเชื่อว่าวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการใช้ความอดทนรอจนกว่าจะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือซึ่งแสดงให้เห็นว่าเฟดได้รับชัยชนะแล้วในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
อัพเดท: 27 ก.พ. 2567
Citi คาดทองพุ่งแตะ $3000 ภายในปี 2568
Citi คาดการณ์ว่าทองคำอาจพุ่งขึ้นแตะระดับ $3000 ในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า โดยมีปัจจัยเร่งที่อาจเกิดขึ้นจาก 1ใน3 ข้อที่เป็นไปได้
อัพเดท: 20 ก.พ. 2567
ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ท่ามกลางค่าเงินและเศรษฐกิจที่เปราะบาง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยในทางเทคนิคเป็นที่เรียบร้อย หลังรายงานตัวเลข GDP ที่หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส จากแรงกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อยู่ในภาวะอ่อนแอ
อัพเดท: 16 ก.พ. 2567
รองประธานเฟดชี้เส้นทางไปสู่เงินเฟ้อ 2% อาจไม่ราบรื่น
ไมเคิล บาร์ รองประธานฝ่ายกำกับดูแลของเฟดกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่ร้อนแรงเกินคาดแสดงให้เห็นว่า เส้นทางที่จะกลับไปสู่เงินเฟ้อที่ 2% ของสหรัฐฯนั้นอาจไม่ราบรื่น
อัพเดท: 15 ก.พ. 2567
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line