สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

“เฟด มองเศรษฐกิจสหรัฐมีเสถียรภาพ”

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2562 สำหรับค่าเงินบาทปิดตลาดวันจันทร์ (11/11) ที่ระดับ 30.34/35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (8/11) ที่ระดับ 30.37/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐโดยในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากเป็นวันหยุดสหรัฐ (วันทหารผ่านศึก) ขณะที่ตลาดการเงินทั่วโลกยังคงติดตามความชัดเจนเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ (8/11) ว่า เขาไม่เห็นด้วยต่อการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ถึงแม้ว่าจีนต้องการให้สหรัฐดำเนินการยกเลิกภาษีนำเข้าดังกล่าวก็ตาม โดยคำกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์สวนทางกับแถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์จีนที่่ว่า สหรัฐและจีนตกลงกันที่จะทยอยยกเลิกการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าของแต่ละฝ่ายที่มีการกำหนดขึ้นในช่วงที่สหรัฐและจีนทำสงครามการค้าก่อนหน้านี้

 

และในช่วงกลางสัปดาห์ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า สหรัฐและจีนใกล้จะบรรลุข้อตกลงการค้าเฟสแรก ขณะที่จีนต้องการที่จะบรรลุข้อตกลเป็นอย่างมาก

 

ปธน.ทรัมป์ยังกล่าวย้ำว่า เขาจะยอมรับข้อตกลงที่เป็นผลดีสำหรับสหรัฐและแรงงานสหรัฐเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม Economic Club of New York ปธน.ทรัมป์ไม่ได้กล่าวถึงการที่สหรัฐจะยกเลิกการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หรือการที่เขาจะพบกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนเพื่อลงนามในขอตกลงการค้า รวมทั้งไม่ได้กล่าวว่าสหรัฐจะชะลอการจัดเก็บภาษีต่อรถยนต์นำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) และยังได้กล่าวโจมตีจีนว่าเป็นประเทศที่เอาเปรียบสหรัฐ

 

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันพุธ หลังตลาดยังคงกังวลเรื่องการเจรจาการค้าเฟสแรกของสหรัฐและจีน โดยมีรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ เช่น มูลค่าสินค้าเกษตรที่จีนสัญญาจะซื้อจากสหรัฐ เป็นต้น โดยนายเจอโรม พาเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ได้กล่าวแถลงการณ์ว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัวที่ยั่งยืน โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ ยังส่งสัญญาณว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป ตราบใดที่ตัวเลขเศรษฐกิจสอดคล้องกับมุมมองของเฟดที่ว่า เศรษฐกิจจะมีการขยายตัวปานกลาง, ตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% โดยเขายังไม่เห็นสัญญาณฟองสบู่ในเศรษฐกิจสหรัฐ หรืออันตรายที่เกิดจากการที่สหรัฐขาดดุลเป็นจำนวนมาก

 

พร้อมกล่าวเสริมว่า การที่ดอลลาร์มีสถานะเป็นสกุลเงินสำรองของโลก ได้ช่วยลดผลกระทบจากการที่สหรัฐมีหนี้สินมากกว่า 23 ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากนี้นายพาวเวลได้กล่าวเตือนเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของภาคการผลิต และความขัดแย้งทางการค้า โดยค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ ก่อนปิดตลาดในวันศุกร์ (15/11) ที่ระดับ 30.38/40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.18-30.38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

 

สำหรับค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (11/11) ที่ระดับ 1.1020/24 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (8/11) ที่ระดับ 1.1041/44 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยตลาดจับตาดูตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ประจำไตรมาส 3 ของเยอรมนีในวันพฤหัสบดีนี้ (14/11) ทั้งนี้ตลาดคาดว่าอาจหดตัวลง 0.1% โดยเศรษฐกิจเยอรมนีอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง 1 ปี และยังไม่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น โดยสถานการณ์นี้อาจจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ทั่วยุโรปตามไปด้วย ในขณะที่อังกฤษเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ว่า ปรับตัวขึ้น 0.3% ในไตรมาส 3 หลังจากที่จีดีพีของอังกฤษหดตัว 0.2% ในไตรมาส 2 สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจอังกฤษยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย

 

ในช่วงท้ายสัปดาห์ ค่าเงินยูโรฟื้นตัวเล็กน้อย หลังเยอรมนีเปิดเผยตัวเลขดัชนี CPI ขั้นสุดท้ายเมื่อเทียบรายเดือนปรับตัวขึ้นตามตลาดคาดการณ์ที่ 0.1% ในเดือนตุลาคม และสำนักงานสถิติแห่งเยอรมนี (FSO) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2562 ขยายตัว 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสสอง โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดกว่าจะหดตัวลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสสามของปีก่อนหน้าแล้ว GDP เยอรมนีขยายตัว 0.2% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะขยายตัว 0.5% เช่นกัน หลังจากที่ได้ขยายตัว 0.3% ในไตรมาสสอง ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบ 1.0987-1.1043 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดในวันศุกร์ (15/11) ที่ระดับ 1.1053/57 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

 

ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (11/11) ที่ระดับ 109.11/14 เยน/ดอลลาสหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (8/11) ที่ระดับ 109.34/37 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินเยนยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบหลังตลาดรอดูความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน สำหรับตัวเลขที่สำคัญของญี่ปุ่นที่ได้มีการเปิดเผย ได้แก่ ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.9% ในเดือนกันยายน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.9% และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOI) ได้เปิดเผยรายงานสรุปมุมมองเศรษฐกิจในวันอังคาร (12/11)

 

นอกจากนี้แล้ว ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลงจนไม่สามารถเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ราคาค้าส่งของญี่ปุ่นปรับตัวลง 0.4% ในเดือน ต.ค.เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากต้นทุนจากน้ำมันดิบที่ร่วงลง แม้ว่ามาตรการขึ้นภาษีอุปโภคบริโภค จะมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมาก็ตาม โดยราคาส่งออกลดลง 6.3% และราคานำเข้าลดลง 10.5% ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์เคลื่อนไหวระหว่าง 108.23-108.91 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดในวันศุกร์ (15/11) ที่ระดับ 108.59/62 เยน/ดอลลาสหรัฐ

 

ขอบคุณเครดิตจาก : ประชาชาติธุรกิจ


ข่าวเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
เฟดแคนซัสซิตี้ชี้ไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อป้องกันปัญหา
เฟดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับจุดยืนนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาล่วงหน้า และเชื่อว่าวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการใช้ความอดทนรอจนกว่าจะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือซึ่งแสดงให้เห็นว่าเฟดได้รับชัยชนะแล้วในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
อัพเดท: 27 ก.พ. 2567
Citi คาดทองพุ่งแตะ $3000 ภายในปี 2568
Citi คาดการณ์ว่าทองคำอาจพุ่งขึ้นแตะระดับ $3000 ในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า โดยมีปัจจัยเร่งที่อาจเกิดขึ้นจาก 1ใน3 ข้อที่เป็นไปได้
อัพเดท: 20 ก.พ. 2567
ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ท่ามกลางค่าเงินและเศรษฐกิจที่เปราะบาง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยในทางเทคนิคเป็นที่เรียบร้อย หลังรายงานตัวเลข GDP ที่หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส จากแรงกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อยู่ในภาวะอ่อนแอ
อัพเดท: 16 ก.พ. 2567
รองประธานเฟดชี้เส้นทางไปสู่เงินเฟ้อ 2% อาจไม่ราบรื่น
ไมเคิล บาร์ รองประธานฝ่ายกำกับดูแลของเฟดกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่ร้อนแรงเกินคาดแสดงให้เห็นว่า เส้นทางที่จะกลับไปสู่เงินเฟ้อที่ 2% ของสหรัฐฯนั้นอาจไม่ราบรื่น
อัพเดท: 15 ก.พ. 2567
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line