ย้อนรอย การล่มสลายเลห์แมน บราเธอร์ส

ใกล้จะครบ 15 ปีของวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกที่ประทุขึ้น ในปี 2008 จุดชนวนโดยการล้มละลายของธนาคารวานิชธนกิจอันดับ 5 ของโลกที่มีอายุถึง 158 ปี นั่นคือ ธนาคารเลห์แมน บราเธอร์ส ในเดือน ก.ย.ปี 2008 ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับระบบการเงินโลก จนนำไปสู่การเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

ธนาคารเลห์แมน บราเธอร์ส เริ่มต้นในสหรัฐฯโดยพี่น้องตระกูลเลห์แมน 2 คนในรุ่นที่ 4 จากร้านขายของชำ ได้แปรเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นธุรกิจการเงินและเติบโตจนเป็นธนาคารวานิชธนกิจ ชั้นนำของสหรัฐ และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คในปี 1994 ในนามธนาคารเลห์แมน บราเธอร์ส และเติบโตด้วยดีมาตลอดจนก้าวมาอยู่อันดับ 5 ของสหรัฐภายในปี 2007 ด้วยทรัพย์สินมากกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์

เช้าวันอังคารที่ 16 กันยายน 2008 แทนที่จะเป็นวันที่สดใสของนักลงทุนเหมือนเช่นปกติทั่วไปแต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นกลับกลายเป็นวันหายนะทางเศรษฐกิจของโลกอีกเหตุการณ์หนึ่งเมื่อ” เลห์แมน บราเธอร์ส” ยื่นล้มละลาย โดยธนาคารขาดทุนจำนวนมากจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Mortgage Backed Securities: MBS) โดยธนาคารลงทุนมาก เกือบ 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เกือบ 4 เท่าของเงินกองทุน ตราสารMBS จะให้กำไรมากช่วงภาวะตลาดเป็นขาขึ้น ราคาบ้านสูงขึ้น แต่ก็จะขาดทุนมาก เมื่อราคาบ้านตกต่ำ เมื่อเกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ปัญหาดังกล่าวยังลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น AIG ซึ่งเป็นบริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ทำให้เสี่ยงต่อภาวะล้มละลาย จนทำให้ Fed ต้องเข้าช่วยเหลือสภาพคล่องเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น ๆ  ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการเงินทั่วโลกที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis)” โดยวิกฤตครั้งนั้นสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง จนแม้ทุกวันนี้เศรษฐกิจของหลายประเทศก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่หรือขยายตัวได้เท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตได้อีกเลย

GOLD HISTORY 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save