สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 07 เมษายน 2564
แนะแนวทางการลงทุน

         ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเล็กน้อย โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์  แต่การดีดตัวยังทำได้ไม่มากนักเนื่องจากนักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพราะมองว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นหลังการประกาศตัวเลขภาคแรงงานที่ดีกว่าคาด ทำให้ความสนใจทองคำลดลง ไม่ผ่านแนวต้านเก็งกำไรขาลง

 Date 07 April 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอขาย
 Entry จุดขาย 1,759
 Target 1,720
Stoploss 1,772
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,720 1,759
 L2 1,716 1,764
 L3 1,712 1,770
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 เม.ย.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐชะลอตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมเดือนมี.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
     มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 เม.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการชะลอตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกทั้งในปีนี้และปีหน้า
นักลงทุนยังคงจับตารายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำเดือนมี.ค. ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันพุธนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุมเมื่อวันที่ 16-17 มี.ค.ที่ผ่านมา และส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2566 
     นอกจากนี้นักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่  ดุลการค้า  จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  Fed Chair Powell Speaks  ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน  ดัชนีราคาผู้ผลิต  สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง  เป็นต้น 
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 เม.ย.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐชะลอตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมเดือนมี.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: สหรัฐเผยตัวเลขเปิดรับสมัครงานเพิ่มสู่ระดับ 7.4 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ.

     สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 7.4 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. จาก 6.9 ล้านตำแหน่งในเดือนม.ค.ส่วนอัตราการเปิดรับสมัครงานอยู่ที่ 4.9% ในเดือนก.พ. แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า   ตัวเลขการจ้างงานขยับขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 5.7 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. ส่วนอัตราการจ้างงานขยับขึ้นเล็กน้อยแตะ 4.0% ในเดือนก.พ.  ตัวเลขการปลดออกจากงานอยู่ที่ 1.8 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า  ส่วนอัตราการปลดออกจากงานอยู่ที่ 1.2 % ในเดือนก.พ.  
     ทั้งนี้ ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยของเฟด
 

IMF: IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ เป็นขยายตัว 6%

     กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 6% ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์เอาไว้เมื่อเดือนม.ค. ว่าจะขยายตัว 5.5% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการฉีดวัคซีนในหลายๆ ประเทศทั่วโลก  
     อย่างไรก็ดี IMF ยังเตือนว่าความท้าทายยังคงมีอยู่ เนื่องจากแต่ละประเทศมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนไม่เท่ากัน  นอกจากนี้ IMF ยังปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2565 ด้วย โดยคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัว 4.4% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะขยายตัว 4.2%
 

สหรัฐฯ: เจพีมอร์แกนคาดราคาบิตคอยน์จ่อแตะเป้าหมายระยะยาวที่ 1.3 แสนดอลล์

     เจพีมอร์แกน วาณิชธนกิจของสหรัฐเปิดเผยว่า บิตคอยน์จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่น่าดึงดูดใจมากขึ้นสำหรับนักลงทุนสถาบันที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายของพอร์ตการลงทุน และราคาบิตคอยน์จะแตะระดับเป้าหมายระยะยาวที่ 130,000 ดอลลาร์ หากมีความผันผวนลดลง ทั้งนี้ ความผันผวนของบิตคอยน์ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ระดับ 86% เมื่อเทียบกับความผันผวนของทองคำที่ระดับ 16%
ด้านนายบ๊อบบี้ ลี ผู้ก่อตั้ง BTCC ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ว่า บิทคอยน์กำลังอยู่ในภาวะตลาดกระทิง และมีโอกาสทะยานขึ้นแตะระดับสูงถึง 300,000 ดอลลาร์ หากพิจารณาตามรูปแบบการปรับตัวในอดีตที่ผ่านมา
 

ออสเตรเลีย: ออสเตรเลียวอนปชช.อย่าตื่นตระหนก กรณีได้วัคซีนช้ากว่ากำหนด

      นายปีเตอร์ ดัตตัน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ในกรณีที่ออสเตรเลียจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ช้ากว่ากำหนดเดิม   นายดัตตัน กล่าวว่า สถานการณ์ของออสเตรเลียไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤตเหมือนกับหลาย ๆ ประเทศ โดยได้เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในสหรัฐและอังกฤษ ซึ่งพบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนหลายพันคนเป็นประจำทุกวัน   นายดัตตันให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสกาย นิวส์ ออสเตรเลีย ว่า "เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์แบบนั้น และเราก็ไม่ต้องการสถานการณ์แบบนั้นเช่นกัน"   "การแจกจ่ายวัคซีนอาจมีการสะดุดบ้างเป็นบางครั้งคราว แต่เราจะร่วมมือกับรัฐต่าง ๆ และแพทย์อย่างเต็มที่"  ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่หนังสือพิมพ์ไนน์ เอนเตอร์เทนเมนต์ รายงานในวันนี้ว่า การแจกจ่ายวัคซีนเฟสแรกจะเสร็จสิ้นภายในช่วงสิ้นเดือนพ.ค. จากเดิมที่รัฐบาลออสเตรเลียขีดเส้นตายไว้ที่ต้นเดือนเม.ย.  อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียรายงานว่า ณ วันเสาร์ที่ 3 เม.ย. มีชาวออสเตรเลียได้รับวัคซีนไปแล้วทั้งสิ้น 841,885 ราย 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
05 เม.ย 64 USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ 60.3 60.0
USA 21.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM 58.3 55.3
USA 21.00 คำสั่งซิ้อสินค้าโรงงาน -0.5% 2.6%
06 เม.ย 64 EUR 15.30 ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนจาก Sentix 6.8 5.0
EUR 16.00 อัตราการว่างงาน 8.1% 8.1%
USA 21.00 ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่จาก JOLTs 6.94M 6.92M
USA 21.00 ดัชนีภาพรวมทางเศรษฐกิจ 56.2 55.4
07 เม.ย 64 EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ เยอรมันนี 50.8% 50.8%
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ ยูโรโซน 48.8 48.8
USA 19.30 ดุลการค้า -70.2B -68.2B
08 เม.ย 64 EUR 13.00 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน เยอรมันนี 1.3% 1.4%
EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.6% 1.4%
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 690K 719K
USA 23.00 Fed Chair Powell Speaks - -
09 เม.ย 64 EUR 13.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เยอรมันนี 1.6% -2.5%
EUR 13.00 ดุลการค้า เยอรมันนี 23.4B 22.2B
USA 19.30 ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน 0.2% 0.2%
USA 19.30 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.5% 0.5%
USA 21.00 สินค้าคลคลังภาคค้าส่ง 0.5% 0.5%
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line