สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 03 พฤษภาคม 2564
แนะแนวทางการลงทุน

     ทองคำปรับตัวลดลง โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของ  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐยังส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอย่างไรก็ตามการดีดตัวขึ้นอาจเป็นเพียงการรีบาวน์ระยะสั้น  แนะนักลงทุนเก็งกำไรภายในกรอบ

 Date 03 พฤษภาคม 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ 1,7ุ60
 Target 1,786
Stoploss 1,748
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,760 1,786
 L2 1,755 1,791
 L3 1,750 1,796
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (30 เม.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้น และยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดด้วย
     มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (30 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังส่งผลกดดันราคาสัญญาทองคำลงด้วย
     ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ในการถือครองทองคำ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะดึงดูดให้นักลงทุนหันเข้าซื้อพันธบัตร แต่จะเทขายทอง ในการปรับพอร์ตการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย
     อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต  ดัชนีภาคการผลิต ISM
ค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้าง  เป็นต้น     
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

     ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (30 เม.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้น และยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดด้วย

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
เกาหลีใต้: เกาหลีใต้ส่งออกพุ่งกว่า 41% ในเดือนเม.ย. โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

      กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานของเกาหลีใต้เปิดเผยในวันนี้ว่า การส่งออกของเกาหลีใต้พุ่งขึ้นกว่า 41% ในเดือนเม.ย. โดยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันแล้ว
      ทั้งนี้ การส่งออกซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ มีมูลค่า 5.119 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ พุ่งขึ้น 41.1% จากปีก่อน โดยการส่งออกยังคงขยายตัว 6 เดือนติดต่อกันแล้วนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 ซึ่งเป็นการขยายตัวมากที่สุดในรอบกว่า 10 ปีนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2554  สำหรับการส่งออกเฉลี่ยรายวันซึ่งไม่รวมผลกระทบด้านวันทำงาน เพิ่มขึ้น 29.4% ในเดือนเม.ย.  ส่วนการนำเข้า พุ่งขึ้น 33.9% จากปีที่แล้ว สู่ 5.08 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. ส่งผลให้เกาหลีใต้มียอดเกินดุลการค้า 390 ล้านดอลลาร์ และเป็นยอดเกินดุลการค้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน
 

ยูโรโซน: ยูโรโซนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อนใน Q1 หลังหดตัว 2 ไตรมาสติดกัน

     ยูโรสแตทซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยในวันศุกร์ (30 เม.ย.) ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากหดตัวลง 0.7% ในไตรมาส 4/2563  เศรษฐกิจที่หดตัวลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้ยูโรโซนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก EU 19 ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค แม้เศรษฐกิจดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 12.5% ในไตรมาส 3/2563 ก็ตาม  
ประเทศในยูโรโซนที่มีเศรษฐกิจหดตัวลงมากที่สุดในไตรมาสแรกได้แก่ โปรตุเกสซึ่งหดตัว 3.3% รองลงมาได้แก่ลัตเวียซึ่งหดตัว 2.6% และเยอรมนี หดตัว 1.7%  ในรายงานคาดการณ์ที่เปิดเผยในเดือนก.พ.ที่ผ่านมานั้น EU คาดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในยูโรโซนจะไม่เกิน 3.8% ในปีนี้ เนื่องจากยุโรปยังคงเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
 

สหรัฐฯ: ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่งนิวไฮรอบ 1 ปี

      ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 88.3 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐในเดือนมี.ค.2563 จากระดับ 84.9 ในเดือนมี.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 87.0   การพุ่งขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้าง  
     ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 500 รายต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ สถานะการเงินส่วนบุคคล, ภาวะเงินเฟ้อ, การว่างงาน, อัตราดอกเบี้ย และนโยบายรัฐบาล
 

สหรัฐฯ: สหรัฐเผยดัชนีต้นทุนการจ้างงานพุ่งเกินคาดในไตรมาส 1

      กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนแรงงานที่กว้างที่สุด พุ่งขึ้น 0.9% ในไตรมาส 1/2564 เมื่อเทียบรายไตรมาส สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.7% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.7% ในไตรมาส 4/2563เมื่อเทียบรายปี ดัชนี ECI ปรับตัวขึ้น 2.6% จากระดับ 2.5% ในไตรมาส 4/2563  การดีดตัวของดัชนี ECI ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้น 1% ของค่าจ้างและเงินเดือนในไตรมาส 1/2564 หลังจากเพิ่มขึ้น 0.8% ในไตรมาส 4/2563 
      ทั้งนี้ ดัชนี ECI ถือเป็นมาตรวัดที่น่าเชื่อถือในการชี้วัดตลาดแรงงาน และเป็นดัชนีคาดการณ์ที่ดีสำหรับอัตราเงินเฟ้อซึ่งธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
03 พ.ค 64 EUR 13.00 ยอดค้าปลีก เยอรมันนี 3.0 % 1.2 %
EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 66.4 66.6
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 63.3 62.5
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 60.6 59.1
USA 21.00 ดัชนีภาคการผลิต ISM 65.0 64.7
USA 21.00 ค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้าง 2.0% -0.8%
04 พ.ค 64 USA 19.30 ดุลการค้า $-74.0 B $-71.1 B
USA 21.00 คำสั่งซื้อโรงงาน 1.3 % -0.8 %
05 พ.ค 64 EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เยอรมันนี 50.1 51.5
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ยูโรโซน 49.6 49.6
EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.6% 0.5 %
USA 19.15 การจ้างงานนอกภาคเกษตร ADP 763,000 517,000
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ 63.1 60.4
USA 21.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM 64.2 63.7
06 พ.ค 64 EUR 13.00 คำสั่งซื้อภาคการผลิต 1.8% 1.2%
EUR 16.00 ยอดค้าปลีก 1.4% 3.0%
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 533 K 553 K
USA 19.30 ผลผลิตนอกถาคการเกษตร 3.7 % -4.2 %
USA 19.30 ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย -0.6 % 6.0 %
07 พ.ค 64 EUR 13.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม 1.7 % -1.6 %
USA 19.30 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร 938,000 916,000
USA 19.30 อัตราการว่างงาน 5.8 % 6.0 %
USA 19.30 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน 0.1 % -0.1 %
USA 21.00 สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง 1.4 % 0.6 %
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line