สนใจเทรดออนไลน์

สมัครเทรดออนไลน์

Morning Report 04 พฤษภาคม 2564
แนะแนวทางการลงทุน

         ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ หลังได้แรงหนุนจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ลดลงซึ่งได้กระตุ้นแรงซื้อทองคำกลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง  ราคาทองคำได้เคลื่อนตัวเข้าหาแนวต้านแล้ว  แนะปิดสถานะทำกำไรออกมาก่อน หากราคาอ่อนตัวค่อยพิจารณาเข้าซื้อใหม่

 Date 04 พฤษภาคม 2021
 Commodity Gold
 Buy/Sell รอซื้อ
 Entry จุดซื้อ 1,7ุ76
 Target 1,804
Stoploss 1,760
Level  แนวรับ
(Support)
 แนวต้าน
(Resistance)
 L1 1,776 1,804
 L2 1,770 1,812
 L3 1,764 1,819
สรุปแนวโน้มช่วงเช้า

     ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) หลังนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด  ดอลลาร์สหรัฐถูกกดดันจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจต่ำกว่าคาด โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะพุ่งขึ้น 1.9% หลังจากร่วงลง 0.6% ในเดือนก.พ. และเมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนมี.ค.   
     มุมมองทองคำภาคเช้า   ทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) โดยปรับตัวขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 5 วันทำการ หลังได้แรงหนุนจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ลดลง ซึ่งได้กระตุ้นแรงซื้อสัญญาทองคำหลังจากร่วงลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอินเดีย
     อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ได้แก่  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต  ดัชนีภาคการผลิต ISM  ค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้าง  ดุลการค้า  คำสั่งซื้อโรงงาน  การจ้างงานนอกภาคเกษตร ADP  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ  ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน  ผลผลิตนอกถาคการเกษตร  ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย  การจ้างงานนอกภาคการเกษตร  อัตราการว่างงาน  รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน  สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง เป็นต้น       
 

Market Price
สภาวะแลกเปลี่ยนเงินตรา

      ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) หลังนักลงทุนผิดหวังกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ต่ำกว่าคาด
      ดอลลาร์สหรัฐถูกกดดันจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจต่ำกว่าคาด โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะพุ่งขึ้น 1.9% หลังจากร่วงลง 0.6% ในเดือนก.พ. และเมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนมี.ค.  
      สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 60.7 ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 65.0 หลังจากพุ่งแตะระดับ 64.7 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2526

สรุปข่าวเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ: สหรัฐเผยการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนมี.ค.

      กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะพุ่งขึ้น 1.9% หลังจากร่วงลง 0.6% ในเดือนก.พ.
      เมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนมี.ค.  การใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนมี.ค. หลังจากร่วงลง 0.3% ในเดือนก.พ.  การใช้จ่ายในโครงการที่อยู่อาศัยของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนมี.ค. หลังจากขยับขึ้น 0.1% ในเดือนก.พ. ส่วนการใช้จ่ายในโครงการที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยลดลง 0.9%  ส่วนการใช้จ่ายในโครงการภาคสาธารณะลดลง 1.5% ในเดือนมี.ค. ขณะที่การใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลกลางลดลง 2.1% ส่วนการใช้จ่ายในโครงการของรัฐบาลในมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นลดลง 1.4%  

 

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐพุ่งนิวไฮในเดือนเม.ย.

      ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 60.5 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 59.1 ในเดือนมี.ค.  ดัชนี PMI ดีดตัวขึ้นในเดือนเม.ย.แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนพ.ค.2550 และดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ  
      ดัชนี PMI ได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่แตะระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจปรับตัวลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน
 

สหรัฐฯ: ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย.

     สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 60.7 ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 65.0 หลังจากพุ่งแตะระดับ 64.7 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2526  อย่างไรก็ดี ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว  ดัชนีภาคการผลิตในเดือนเม.ย.ได้รับผลกระทบจากการร่วงลงของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน หลังจากพุ่งขึ้นในเดือนมี.ค.

สหรัฐฯ: ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนพุ่งนิวไฮในเดือนเม.ย.

     ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 62.9 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลในเดือนมิ.ย.2540 จากระดับ 62.5 ในเดือนมี.ค.  ดัชนี PMI ยังคงปรับตัวสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงมีการขยายตัว โดยได้ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10  ดัชนี PMI ได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 9 ปี จากการคาดการณ์ที่ว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้างจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาด และหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น  
      นอกจากนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซน ยังได้ปัจจัยบวกจากภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลี
 

ดัชนีชี้วัด
วันที่ ประเทศ เวลา รายการ มีผลต่อทอง ประมาณการณ์ ตัวเลขครั้งก่อน
03 พ.ค 64 EUR 13.00 ยอดค้าปลีก เยอรมันนี 3.0 % 1.2 %
EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เยอรมันนี 66.4 66.6
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ยูโรโซน 63.3 62.5
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต 60.6 59.1
USA 21.00 ดัชนีภาคการผลิต ISM 65.0 64.7
USA 21.00 ค่าใช้จ่ายด้านก่อสร้าง 2.0% -0.8%
04 พ.ค 64 USA 19.30 ดุลการค้า $-74.0 B $-71.1 B
USA 21.00 คำสั่งซื้อโรงงาน 1.3 % -0.8 %
05 พ.ค 64 EUR 14.55 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เยอรมันนี 50.1 51.5
EUR 15.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ยูโรโซน 49.6 49.6
EUR 16.00 ดัชนีราคาผู้ผลิต 0.6% 0.5 %
USA 19.15 การจ้างงานนอกภาคเกษตร ADP 763,000 517,000
USA 20.45 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ 63.1 60.4
USA 21.00 ดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ISM 64.2 63.7
06 พ.ค 64 EUR 13.00 คำสั่งซื้อภาคการผลิต 1.8% 1.2%
EUR 16.00 ยอดค้าปลีก 1.4% 3.0%
USA 19.30 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน 533 K 553 K
USA 19.30 ผลผลิตนอกถาคการเกษตร 3.7 % -4.2 %
USA 19.30 ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วย -0.6 % 6.0 %
07 พ.ค 64 EUR 13.00 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม 1.7 % -1.6 %
USA 19.30 การจ้างงานนอกภาคการเกษตร 938,000 916,000
USA 19.30 อัตราการว่างงาน 5.8 % 6.0 %
USA 19.30 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงการทำงาน 0.1 % -0.1 %
USA 21.00 สินค้าคงคลังภาคค้าส่ง 1.4 % 0.6 %
  • gcap gold facebook
  • gcap gold youtube
  • gcap gold line
  • gcap gold line